Support
4 Life rich
084-1429015
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
จำนวนครั้งที่เปิดดูสินค้า : 251 | ความคิดเห็น: 0

แคลเซียม(ซีเอ็ม) (เลขที่ อย.10-3-10449-1-0006)

 เพิ่มเมื่อ: 2016-07-04 15:37:50.0
 เบอร์โทรติดต่อ: 084-1429015
 อีเมลล์: krumoon@gmail.com

รายละเอียด:
ผลิตภัณฑ์แคลเซียมเสริมกระดูก
590.00 บาท

 สินค้าที่เกี่ยวข้อง

4 ไล้ฟ์ ทรานสเฟอร์แฟกเตอร์ BCV พีบีจีเอส พลัส 4ไล้ฟ์ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ไตร-แฟกเตอร์ ฟอร์มูล่า(advance)(เลขที่ อย.10-3-10449-1-0003) โปร-ทีเอฟ 4ไล้ฟ์ ทรานสเฟอร์แฟกเตอร์ ริโอวิด้า ไตร-แฟกเตอร์ ฟอร์มูล่า(เลขที่ อย.10-3-10449-1-0004)

 

 
 
ซีเอ็ม ผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม
  • แคลเชียม
    ……การบริโภคอาหารที่มีปริมาณ แคลเซียมที่เพียงพอเป็นแนวทางที่สำคัญอย่างหนึ่งในการป้องกันโรคกระดูกพรุน ด้วยภาวะที่บริโภคแคลเซียมไม่เพียงพออย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีผลให้มวลกระดูกต่ำลงและเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะในผู้สูง อายุ ข้อมูลการบริโภคแคลเซียมในกรุงเทพมหานครมีค่าประมาณ 360 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ควรได้รับ
แคลเซียมกับมวลกระดูก
……แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีปริมาณมากที่สุดในร่างกายประมาณร้อยละ 99 ของแคลเซียม ทั้งหมดในร่างกายอยู่ที่กระดูกและฟัน กระดูกประกอบด้วยโครงสร้าง 2 ส่วน คือแร่ธาตุต่างๆที่สำคัญ คือ แคลเซียม และฟอสฟอรัส ทำให้กระดูกมีความแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ยังมีแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แมกนีเซียม โซเดียม คลอไรด์ ฟลูออไรด์ และ สังกะสี อีกส่วนหนึ่งของกระดูก คือ เนื้อเยื่อเกี่ยวกัน (connective tissue) ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโปรตีนชนิดคอลลาเจน (collagen)กระดูกเป็นแหล่งสะสมของแคลเซียม และเป็นเนื้อเยื่อที่มีชีวิต ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แคลเซียมเคลื่อนที่เข้าและออกจากกระดูกเพื่อรักษาระดับแคลเซียมในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีสร้างกระดูกใหม่ทดแทนกระดูกเก่า กระบวนการดังกล่าวทำให้กระดูกมีความแข็งแรงและ มีรูปร่างเหมาะสมกับการใช้งานปริมาณมวลกระดูกมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุ ในช่วงตั้งแต่แรกเกิด จนถึงวัยหนุ่มสาว อัตราการสร้างกระดูกมากกว่า การสลายกระดูก เป็นผลให้ปริมาณมวลกระดูกเพิ่มขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในวัยทารก เริ่มช้าลงในวัยเด็ก และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่งในช่วงวัยรุ่น เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวปริมาณมวลกระดูกทั้งหมดยังเพิ่มได้อีกเล็กน้อย จนมีปริมาณมวลกระดูกสูงสุด (peak bone mass)ในอายุระหว่าง 20-35 ปี ในช่วงระหว่างวัยทารกจนถึงวัยรุ่น ร่างกายสามารถสะสมมวลกระดูก ได้ประมาณร้อยละ 85-90 ของปริมาณมวลกระดูกสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่นจะมีการสะสมมวลกระดูกมากที่สุด คือ ประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณมวลกระดูกสูงสุด หลังจากนั้นในวัยหนุ่มสาว อัตราการสลายการสร้างกระดูกจะใกล้เคียงกันทำให้ปริมาณมวลกระดูกค่อนข้างคง ที่ จนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ ปริมาณมวลกระดูกจะเริ่มลดลง เนื่องจากมีอัตราการสลายกระดูก มากกว่าการสร้างกระดูก
แคลเซียมกับการทำงานของระบบอื่นๆ ในร่างกาย
……ปริมาณแคลเซียมในร่างกายซึ่งอยู่ นอกกระดูกมีเพียงประมาณร้อยละ 1 คือ อยู่ในเลือดและเนื้อเยื่ออื่นๆ ถึงแม้จะปรากฏอยู่ในปริมาณน้อยแต่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของระบบ ประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ และหลอดเลือด ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ควบคุมการเข้าออกของสารต่างๆ ผ่านผนังเซลล์ และควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนบางชนิดผู้หญิงจะมีการสูญเสียมวลกระดูกมากถึง ร้อยละ 2-6 ต่อปี โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกหลังจากหมดประจำเดือน เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนเอสโตเจนในร่างกายลดลง ซึ่งมีผลให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง และมีการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น หลังจากนั้นอัตราการสูญเสียมวลกระดูกจะช้าลงกว่าในช่วง 5 ปีแรก ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนจะมีปริมาณมวลกระดูกต่ำลง ในผู้หญิงที่มีปริมาณมวลกระดูกต่ำอยู่แล้ว ก็จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน และกระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ และมีผลต่อกระดูกสันหลังโดยจะทำให้กระดูกยุบตัวลง หลังค่อม การเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียค่ารักษาพยาบาลสูงมาก ทั้งยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา ที่ร้ายแรงที่สุดอาจทำให้ผู้ป่วยสูงอายุเสียชีวิตได้ ผู้หญิงเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการสูญเสียมวลกระดูกในผู้ชายมีระดับต่ำกว่าผู้หญิง คือเพียงร้อยละ 0.3-.0.5 ต่อปี
……ผู้ ที่มีมวลกระดูกมากในวัยหนุ่มสาว เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะมีมวลกระดูกเหลืออยู่มากกว่าและเสี่ยงต่อการเกิด โรคกระดูกพรุนน้อยกว่าผู้ที่มีมวลกระดูกน้อย ดังนั้นการบริโภคอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมากเพียงพออย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่ในวัยทารกจนถึงวัยหนุ่มสาว เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยเพิ่มปริมาณมวลกระดูกและลดความเสี่ยงต่อ โรคกระดูกพรุนที่อาจเกิดขึ้นได้ในวัยสูงอายุ
นมและผลิตภัณฑ์นมเป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี เนื่องจากนมมีปริมาณแคลเซียมสูง และร่างกายนำไปใช้ได้ดี ปลา และสัตว์เล็กอื่นๆ ที่สามารถกินได้ทั้งกระดูก หรือเปลือก เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดีเช่นกัน เช่น ปลาซิว ปลาเกล็ดขาว ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีนกระป๋อง กุ้งฝอย กุ้งแห้ง เป็นต้น ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เป็นอีกแหล่งของแคลเซียมที่ดี เช่น เต้าหู้อ่อน (ไม่ใช่เต้าหู้หลอดไข่) เต้าหู้แข็ง เต้าฮวย ส่วนน้ำเต้าหู้ มีปริมาณแคลเซียมไม่มาก จึงไม่ใช่แหล่งแคลเซียมที่ดี แต่น้ำเต้าหู้ก็มีสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีน ผักใบเขียวที่มีแคลเซียมสูง และร่างกายนำไปใช้ได้มาก เช่น ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า เป็นต้นง
แมกนีเซียม
……แมกนีเซียม มีบทบาทสำคัญในร่างกายคือเป็นโคแฟกเตอร์ของเอนไซม์จำนวนมาก มีบทบาทในการควบคุณอุณหภูมิของร่างกาย การยืดหดของกล้ามเนื้อ การสังเคราะห์โปรตีน ถ้าปริมาณแมกนีเซียมในเลือดต่ำจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคกระดูกพรุน เป็นต้น คนปกติทั่วไปที่บริโภคอาหารครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอ มักไม่พบการขาดแมกนีเซียม เนื่องจากแมกนีเซียมมีอยู่ในอาหารหลายชนิด เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำนม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การบริโภคแมกนีเซียมของคนไทยต่อวันยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับคนอเมริกัน ทำให้มีระดับแมกนีเซียมในเลือดที่เสี่ยงต่อการขาดได้ ในผู้สูงอายุอาจมีความเสี่ยงต่อการขาดแมกนีเซียมได้ง่าย เนื่องจากการบริโภคอาหารที่มีแมกนีเซียมน้อยลง ประกอบกับการมีภาวะเบื่ออาหาร การรับรสเปลี่ยนไป มีปัญหาในการขบเคี้ยว และภาวะสูงอายุก็ทำให้เมตาบอลิสึมของแมกนีเซียมเปลี่ยนไปด้วย นอกจากนี้การดูดซึมแมกนีเซียมที่ลำไส้เล็กลดลง และมีการขับออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
……แมกนีเซียมมีส่วนสำคัญในการทำงานเป็นโคแฟคเตอร์ ของเอนไซม์ในปฏิกิริยาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จึงมีความสำคัญต่อเมตาบอลิสึมของเซลล์ และมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน การยืดหดตัวของกล้างเนื้อ การควบคุม neuromuscular irritability ของกล้ามเนื้อ ซึ่งถ้าขาดแมกนีเซียมจะเกิดอาการกระตุก และชักได้ นอกจากนี้แมกนีเซียมยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ในร่างกายมีแมกนีเซียมประมาณ 25 กรัม โดยร้อยละ 50-60 อยู่ในส่วนของกระดูก และร้อยละ 40-50 อยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ มีเพียงส่วนน้อยประมาณร้อยละ 1 ที่อยู่นอกเซลล์ในภาวะปกติ ร่างกายมีการควบคุมให้ระดับแมกนีเซียมในซีรั่มอยู่ในภาวะปกติ เพื่อให้เซลล์รวมทั้งโครงสร้างต่างๆของร่างกายทำงานได้ดี ความผิดปกติของแมกนีเซียมในร่างกาย จะพบได้ทั้งภาวะที่มีแมกนีเซียมในเลือดต่ำและสูงเกินไป ถ้าระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ จะมีอาการกล้ามเนื้อเป็นตะคริว กระตุกหรือชัก และหัวใจเต้นผิดปกติ สำหรับโรคกระดูกพรุน พบได้ในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีระดับแมกนีเซียมต่ำ การเสริมแมกนีเซียม แคลเซียม และวิตามินรวมพร้อมกับการให้ฮอร์โมนทดแทนจะมีการเพิ่มมวลกระดูกได้ดีกว่า หญิงที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนเพียงอย่างเดียว
สังกะสี
……ธาตุสังกะสีมีความสำคัญต่อการทำงาน ของเอนไซม์และการแสดงออกของหน่วยพันธุกรรมในทุกระบบของสิ่งมีชีวิต ภาวะการขาดแคลนสังกะสีก่อให้เกิดความผิดปกติของการเจริญเติบโต ระบบภูมิคุ้มกัน การทำงานของอวัยวะสืบพันธ์ และระบบประสาทที่ควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ประเทศไทยได้รับการจัดให้มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดธาตุสังกะสีในระดับปานกลาง สังกะสีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และมีบทบาทสำคัญ 3 ด้าน คือ ด้านการกระตุ้นปฏิกิริยาชีวเคมี ด้านโครงสร้าง และด้านการควบคุมการทำงานระดับเซลล์ แม้ว่าปริมาณสังกะสีในเลือดเป็นเพียงร้อยละ 0.1 ของธาตุสังกะสีทั้งหมดในร่างกาย แต่การหมุนเวียนสังกะสีในเลือดนี้เกิดขึ้นถึง 150 ครั้งต่อวัน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการธาตุสังกะสีของเนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกาย ภาวะการขาดสังกะสีโดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการ ผิวหนังบวมแดงอักเสบ ท้องร่วง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายแคระแกร็น ติดเชื้อง่ายแหล่งอาหารที่ดีของสังกะสีคือ เนื้อสัตว์ และเครื่องในสัตว์ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยนางรม กุ้ง ปลา ไข่ สำหรับถั่วเมล็ดแห้ง งา ธัญพืชทุกชนิด แม้จะมีสังกะสีในระดับปานกลางถึงสูง แต่พบสารไฟเตทในปริมาณสูงด้วย สารไฟเตทจะจับกับสังกะสีในอาหารและยังยั้งการดูดซึมธาตุสังกะสีเข้าสู่ร่าง กาย
ทองแดง
……ทองแดงเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ ในปริมาณน้อย หน้าที่สำคัญของทองแดง คือเป็นส่วนประกอบของ metalloenzymes ที่เกี่ยวข้องกับ bone mineralizaion การสร้างพลังงาน เมตาบอลิสึมของออกซิเจนและธาตุเหล็ก neuropeptides และ antioxidant protection เช่น
เอนไซม์ lysyl oxidase ทำหน้าที่สร้าง cross-linkages ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน รวมทั้งกระดูก ปอด และระบบหมุนเวียนโลหิต เป็นต้น ในร่างกายของผู้ใหญ่สุขภาพดี มีทองแดงประมาณ 80-200 มิลลิกรัม โดยสองในสามของทองแดงอยู่ในกระดูกและกล้ามเนื้อ อาการแสดงภาวะการขาดทองแดง ได้แก่ โลหิตจางชนิดmicrocytic hypochromic anemia เม็ดเลือดขาวชนิดneutrophils ลดลง ผมมีลักษณะแข็งและขดเป็นเกลียว สีผมและสีผิวจาง พบความผิดปกติในการสร้างเนื้อเยื่อยืดหยุ่นตามผิวหนังและผนังหลอดเลือด มีการสลายของกระดูกและพบความเสื่อมของระบบประสาท
แหล่งอาหารที่มีทองแดงมาก ได้แก่เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆโดยเฉพาะตับมีมากที่สุด รองลงมาได้แก่อาหารทะเล เช่นหอยนางรม ถั่วเมล็ดแห้ง โกโก้ เชอร์รี่ เห็ด ธัญพืช เป็นต้น
แมงกานีส
……แมงกานีสเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้อง การในปริมาณน้อยที่มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง ระบบเอนไซม์ต่างๆในร่างกาย และเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการสร้างกระดูก ในร่างกายมีแมงกานีสเป็นส่วนประกอบประมาณ 10-40 มิลลิกรัม โดยส่วนใหญ่อยู่ในกระดูก ที่เหลือกระจายอยู่ในตับ ตับอ่อน ไต และต่อมน้ำนม โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในไมโตคอนเดรียของเซลล์ของอวัยวะเหล่านี้ นอกจากนี้แมงกานีสยังมีความสำคัญต่อเมตาบอลิสึมต่างๆ ในร่างกายได้แก่ เมตาบอลิสึมของกรดอะมิโน โคเลสเตอรอล และคาร์โบโฮเดรต มีรายงานว่าคนที่ทานอาหารที่มีแมงกานีสไม่เพียงพอเป็นเวลานานจะมีน้ำหนักตัว ลดลง การงอกของผม, เล็บและผิวหนังผิดปกติ ระดับโคเลสเตอรอลและกลูโคสในระบบไหลเวียนโลหิตลดลง ในเด็กที่ให้อาหารทางสายยางเป็นเวลานานและขาดแมงกานีส พบว่ามีความผิดปกติของกระดูก และมีการเจริญเติบโตช้า เมื่อเสริมแมงกานีสให้พบว่าอาการดังกล่าวกลับเป็นปกติ อาการขาดแมงกานีสยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุน เบาหวาน ลมชัก โรคหัวใจและหลอดเลือด ตาต้อและการหายของแผลแมงกานีสพบได้มากในแหล่งอาหารประเภทต่างๆอาทิเช่น ธัญพืชจำพวกพวกข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวไรน์ ข้าว ถั่วเหลือง บลูเบอรี่ ชา เป็นต้น
วิตามินดี
……วิตามินดีมีความสำคัญต่อการควบคุมเม ตาบิลิสึมของแคลเซียมและกระดูก การมีวิตามินดีเพียงพอในร่างกายจะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ ทางเดินอาหารและการทำงานของเซลล์กระดูกเป็นปกติ ซึ่งจะเป็นผลให้ระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด ปริมาณมวลกระดูก รวมทั้งโครงสร้างและความแข็งแรงของกระดูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ ภาวะขาดวิตามินดี(vitamin D deficiency) จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสในทางเดินอาหารลดลง ซึ่งเป็นผลให้แคลเซียมในเลือดต่ำลง ปริมาณมวลกระดูก(bone mass)ต่ำหรือลดลงมากจนเกิดโรคกระดูกพรุน(osteoporosis) และโรคกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกหักง่ายโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ วิตามินดีในร่างกายส่วนใหญ่ได้มาจากการสังเคราะห์ขึ้นเองที่ผิวหนังโดย อาศัยUVB ในแสงแดดเป็นตัวกระตุ้น ในภาวะที่ร่างกายได้รับแสงแดดนานมากพอ ประมาณ 5-15 นาทีต่อวัน ผิวหนังจะสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้ในปริมาณที่เพียงพอ อย่างไรก็ตามในบางสภาวะที่ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนังได้ลดลง เช่น ปริมาณแสงแดดที่ได้รับไม่เพียงพอ, ผู้สูงอายุซึ่งมีการสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนังได้ลดน้อยลง หรือ การใส่เสื้อผ้าเครื่องนุ่มห่มมิดชิดรวมถึงการใช้ครีมกันแดด ก็มีผลขัดขวางการสังเคราะห์วิตามินดี3 อย่างมาก ตัวอย่างเช่น การใช้ครีมกันแดดที่มีค่าความสามารถในการป้องกันแสงแดด(Sun-Protection Factor, SPF) เพียง 8 จะทำให้การสังเคราะห์วิตามินดี3ที่ผิวหนังลดลงร้อยละ 95 ดังนั้นการใช้ครีมกันแดดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานสามารถทำให้เกิดภาวะการ ขาดวิตามินดีได้ และการได้รับวิตามินดีจากอาหารอย่างเพียงพอจะมีความสำคัญในการรักษาปริมาณ วิตามินดีในร่างกาย
หน้าที่ของวิตามินดี
……วิตามินดี ในรูปของ 1,25(OH)2D เป็นวิตามินดีในรูปที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ มีหน้าที่หลักในการควบคุมเมตาบอลิสึมของแคลเซียม ฟอสฟอรัส และกระดูก ร่วมกับฮอร์โมนพาราธัยรอยด์ (parathyroid hormone, PTH) โดยการออกฤทธิ์ที่ลำไส้ และกระดูกที่ลำไส้ 1,25(OH)2D ทำหน้าที่กระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็กโดยเฉพาะส่วนดูโอดีนัม (duodenum) และกระตุ้นการดูดซึมฟอสฟอรัสที่ลำไส้เล็กโดยเฉพาะส่วนเจจูนัม (jejunum) และอิเลียม (ileum) หน้าที่ดังกล่าวทำให้ระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติและ เพียงพอต่อการทำให้การจับผลึกแคลเซียมฮัยดร็อกซีอะพาไทท์ (calcium hydroxyapatite) ที่กระดูกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ที่กระดูก 1,25(OH)2D ทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดชนิดโมโนซัยท์ (monocytic stem cell) ที่อยู่ในไขกระดูกให้เจริญเป็นเซลล์กระดูกชนิดออสตีโอคลาสท์ (osteoclast) ซึ่งมีหน้าที่สลายกระดูก และกระตุ้นเซลล์กระดูกชนิดออสตีโอบลาสท์ (osteoblast) ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกให้ทำการผลิตและหลั่งซัยโตไคน์ (cytokein) ชนิดต่างๆ ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้นออสตีโอคลาสท์ให้ทำการสลายกระดูก และทำให้การผลิตสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น แอลคาไลน์ฟอสฟาเทส, ออสตีโอพอนทิน และออสตีโอแคนซิน ซึ่งมีบทบาทในกระบวนการสร้างกระดูก นอกจากนี้ 1,25(OH)2D ยังมีบทบาทในการส่งเสริมกระบวนการจับผลึกแคลเซียมที่เนื้อสารอินทรีย์ (organic matrix) หรือที่เรียกว่าออสตีออยด์ (osteoid) ที่ผลิตโดยออสตีโอบลาสท์เพื่อให้ได้เนื้อกระดูกที่สมบูรณ์โดยตรง และโดยการรักษาระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
……นอก จากหน้าที่หลักในการควบคุมเมตาบอลิสึมของแคลเซียมและกระดูกดังกล่าวแล้ว วิตามินดียังมีบทบาทในการทำงานของระบบอื่นๆ ของร่างกายด้วย เช่น การสร้างเม็ดเลือด การควบคุมการเพิ่มจำนวน (proliferation)และการเจริญพัฒนา (differentiation) ของเซลล์ปกติ และเซลล์มะเร็ง เป็นต้น
ลักษณะทางคลีนิคของภาวะการขาดวิตามินดีจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะการ ขาด ได้แก่ แคลเซียมในเลือดต่ำ ฟอสฟอรัสในเลือดต่ำ ระดับฮอร์โมนพาราธัยรอยด์สูงในเลือด กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกระดูก ในเด็กจะมีการเจริญเติบโตช้า ฟันขึ้นช้าและไม่สมบูรณ์ ปริมาณมวลกระดูกสูงสุด(peak bone mass)ไม่สูงเท่าที่ควร และกระดูกแขนขาโค้งงอเนื่องจากการจับแคลเซียมที่กระดูกไม่สมบูรณ์ทำให้ กระดูกอ่อนไม่แข็งแรงและมีการโค้งงอจากการรับน้ำหนักตัว และมีการหักได้ง่าย สำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมักพบว่ามีปริมาณมวลกระดูกต่ำและมีโรคกระดูกพรุน ซึ่งทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงและเกิดการหักได้ง่าย ส่วนภาวะกระดูกโค้งงอมักไม่พบยกเว้นในผู้ที่มีภาวะการขาดวิตามินดีอย่าง รุนแรงมากและเป็นเวลานานอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินดีตามธรรมชาติมีไม่มาก ชนิด ได้แก่ น้ำมันตับปลา เนื้อปลาที่มีไขมัน ตับ ไข่แดง เป็นต้น
วิตามินเค
……วิตามินเค มีบทบาทสำคัญในกระบวนการการแข็งตัวของเลือดและการสังเคราะห์โปรตีนที่เกี่ยว ข้องกับการสร้างกระดูก ภาวะการขาดวิตามินเคทำให้การแข็งตัวของเลือดช้ากว่าปกติ ซึ่งมักพบในเด็กแรกเกิด ความเสี่ยงนี้ลดลงในปัจจุบันเพราะมีข้อกำหนดให้ทารกแรกเกิดทุกคนต้องได้รับ การฉีดวิตามินเค สำหรับผู้ใหญ่ไม่พบการขาดวิตามินเค ยกเว้นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยและการดูดซึมไขมัน และผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำ แหล่ง อาหารที่ให้วิตามินเค ปริมาณสูง คือจำพวกผักใบเขียว เช่น ผักปวยเล้ง บร๊อคโคลี่ กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว และน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันcanola เป็นต้น
วิตามินซี
……วิตามินซีมีความสำคัญต่อการ สังเคราะห์คอลลาเจน(collagen) คาร์นิทีน(carnitine) สารเหนี่ยวนำกระแสประสาท(neurotransmitter) และเมตาบอลิสึมของกรดอมิโนและคาร์โบไฮเดรต เพิ่มภูมิต้านทาน ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก ยับยั้งการสร้างสารก่อมะเร็งไนโตรซามีน(nitrosamine) มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการเกิดlipid peroxidation การสังเคราะห์คอลลาเจน จำเป็นต้องอาศัยเอนไซม์ praline hydroxylase และ lysine hydroxylase ซึ่งปฏิกริยานี้ต้องการวิตามินซีเป็นตัวช่วยเพื่อทำให้การสังเคราะห์มีความ สมบูรณ์ แต่ถ้ามีการขาดวิตามินซีจะมีผลทำให้โครงสร้างของคอลลาเจนเปลี่ยนแปลงไปและ เป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดตามข้อกระดูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) มีความผิดปกติ แผลหายช้าลง และถ้ามีอาการรุนแรงจะมีเลือดออกตามไรฟัน ซึ่งเป็นลักษณะอาการของโรคลักปิดลักเปิด
……วิตามินซีมีบทบาทสำคัญในการขจัดอนุมูลอิสระต่างๆ ทั้งในและนอกเซลล์ การศึกษาที่ศึกษากันมากคือความสัมพันธ์กับ low density lipoprotein (LDL) ในกระแสโลหิต เพราะการเพิ่มขึ้นของ LDL มีผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดตีบและแข็งตัว (atherosclerosis) และโรคหัวใจ การเกิดการเปลี่ยนแปลงของ LDL เกิดขึ้นจากขบวนการเปอร์ออกซิเดชันของกรดไขมันไม่อิ่มตัว (polyunsaturated fatty acid peroxidation) เป็นหลักใหญ่ ทำให้โครงสร้างของ LDL เปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า macrophage จะมากินโดยการห่อหุ้มสารที่เกิดจากการที่ LDL ถูกเปอร์ออกซิไดซ์ ทำให้เกิดสารที่มีลักษณะเหมือนฟองน้ำ และไปอยู่ชั้น ultima ของเส้นเลือด ต่อมามีการพอกพูนของโคเลสเตอรอล กล้มเนื้อเรียบ คอลลาเจน ทำให้ผนังเส้นเลือดนูนขึ้นเป็นเหตุให้เกิดหลอดเลือดตีบและแข็งตัว ถ้าเกิดกับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจจะเป็นอันตรายเพราะเมื่อเส้นเลือดตีบ แล้วเกิดการอุดตันโดยกลุ่มของเกร็ดเลือด (platelet) เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นไม่ได้จะเกิดอาการกล้ามเนื้อตาย วิตามินซีทำหน้าที่ในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของ LDL จากขบวนการเปอร์ออกซิเดชันของกรดไขมันไม่อิ่มตัว
……นอกจากนี้วิตามินซียังมีบทบาทต่อภูมิต้านทานของร่างกายโดยทำงานร่วมกับการทำหน้าที่ของ lymphocyte และ phagocytic activity ของ neutrophil ในการกำจัดเชื้อโรคในร่างกาย
การขาดวิตามินซีในเด็กทารกพบว่า อาการเริ่มแรกจะเบื่ออาหาร กระวนกระวาย และเจริญเติบโตช้า ต่อมาจะมีอาการเจ็บที่เข่า ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ เลือดออกที่ผิวหนังและเหงือก ในผู้ใหญ่ถ้ามีการขาดวิตามินซี อาการเริ่มแรกจะอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อและกระวนกระวาย ถ้ารุนแรงจะเกิดโรคลักปิดลักเปิด มีเลือดออกตามผิวหนังและเหงือกทำให้เกิดโลหิตจางได้แหล่งอาหารของวิตามินซี ได้แก่ ฝรั่ง มะขามป้อม มะปรางสุก พริกชี้ฟ้าเขียว ผักคะน้า บร็อคโคลี่ ยอดสะเดา ใบปอ ผักหวาน ผักกาดเขียว เป็นต้น
วิตามินบี 6
……วิตามินบี 6 มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย โดยทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในปฏิกริยาต่างๆมากกว่า 100 ชนิด ที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิสึมของกรดอะมิโน(ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีน ต่างๆ) ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ ไขมัน และกรดนิวคลีอิค การสังเคราะห์กลูโคสจากกรดอะมิโนในกล้ามเนื้อ การสังเคราะห์ฮีม (heme) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์ไนอาซิน (niacin) จากกรดอะมิโนทริปโทนิน รวมทั้งการสังเคราะห์สารสื่อประสาทหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบ ประสาท เช่น ซีโรโทนิน(serotonin) ทอรีน(taurine) เป็นต้น
……การขาดวิตามินบี6 จะทำให้มีอาการซึมเศร้า สับสน มีการตอบสนองของระบบประสาทช้าลง บางรายอาจมีอาการชักร่วมด้วย แหล่งอาหาร วิตามินบี6มีอยู่ในอาหารทั่วไปทั้งในพืชและสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ กล้วย ถั่วเมล็ดแห้ง ไข่แดง อย่างไรก็ตามการหุงต้มจะทำลายวิตามินบี6 ได้
……ข้อมูลทางวิชาการจากบทความข้างต้น ได้คัดลอกบางตอนจากหนังสือ “คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย คณะกรรมการสวัสดิการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ.2546”
บทสรุป ทำไมแคลเซียมจึงสำคัญต่อร่างกาย
แคลเซียม (Calcium)
……แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่สำคัญ ซึ่งร่างกายของคนเราใช้ในการ สร้างกระดูกและฟัน ทำให้กระดูกมีความแข็งแกร่ง นอกจากนี้แคลเซียมยังควบคุม การทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด เมื่อมีบาดแผล เป็นต้น
……แคลเซียมกับการเกิดโรคกระดูกพรุน หากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูก ออกมาใช้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำ แคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกมามาก จนกระทั่งกระดูกพรุน เปราะ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง จึงแตกหักได้ง่าย แม้ว่าได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นอาการของ “โรคกระดูกพรุน” และถ้าได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ตั้งแต่เด็ก โอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนก็มีเพิ่มขึ้น
……ใน ระยะเริ่มแรก โรคนี้จะไม่แสดงอาการ จนกระทั่งมีความรุนแรงมากขึ้น จึงแสดงอาการออกมา เช่น มีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อมจากการยุบตัวลงของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพกหัก ทำให้เดินไม่ได้เหมือนเดิม และถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ความต้องการของแคลเซียม
……ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการ จะเปลี่ยนแปลงตามวัย และสภาวะต่างๆ ของร่างกาย
ทารก เด็กและวัยรุ่น
……เป็นช่วงที่มีการสร้างกระดูกมากที่ สุด ทำให้มวลกระดูกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น จึงเป็นช่วงสำคัญ ในการสะสมมวลกระดูก สำหรับการเจริญเติบโต และเพิ่มมวลกระดูกให้มีปริมาณสูงสุด
วัยหนุ่มสาว
……ในช่วงอายุ 19-30 ปี ยังมีการสะสมมวลกระดูกอีกเล็กน้อย จึงจะถึงปริมาณสูงสุด
วัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ
……เป็นช่วงที่มีการดึงแคลเซียมออก จากกระดูกเพิ่มขึ้น ทำให้มวลกระดูกลดลง โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ในช่วง 5 ปีแรก มวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว
การเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก
……การบริโภคแคลเซียมให้เพียงพอในทุก ช่วงวัย มีความจำเป็นอย่างยิ่ง และสามารถปฏิบัติได้ง่าย โดยการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมปานกลาง และสูงทุกวัน การบริโภคแคลเซียมจากอาหาร นอกจากจะได้รับแคลเซียมแล้ว ยังได้รับสารอาหารอื่นๆ ที่มีความจำเป็น สำหรับการสร้างกระดูกอีกด้วย และถ้าได้รับแคลเซียมเพียงพอ ร่วมกันการ ได้รับแสงแดด และการออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยเสริมสร้างร่างกาย รวมทั้งกระดูกให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น
……คนที่มีการสะสมมวลกระดูกมากตั้งแต่วัยเด็ก ถึงวัยหนุ่มสาว เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน และวัยชราจะยังมีมวลกระดูกเหลืออยู่มากกว่าคนที่มีการสะสมมวลกระดูกน้อยช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ
             
           ตารางเปรียบเทียบส่วนประกอบแคลเซียมของ 4ไล้ฟ์ กับยี่ห้ออื่นๆ  

         ส่วนประกอบของ CM ของ 4life เที่ยบกับยี่ห้ออื่นๆ

guest
ชื่อ
Email
เบอร์โทรศัพท์